旗袍 จีนแต้จิ๋วเรียกว่า “กี่เพ้า” ส่วนจีนกลางเรียกว่า “ฉีผาว”
กี่เพ้ามีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงราชวงศ์ชิง เป็นชุดที่ดัดแปลงมาจากชุดของหญิงชาวแปดกองธง ลักษณะเป็นชุดเสื้อคลุมยาวถึงเท้าเพื่อปกป้องฝุ่นจากทะเลทราย และลำตัวกว้างใหญ่เพื่อสะดวกในการขี่ม้า ต่อมารูปแบบก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย มีการปรับให้เป็นชุดเข้ารูป ลดความยาวชุด รูปแบบคอและแขนหลากหลายยิ่งขึ้น
ลวดลายบนกี่เพ้า
1.ลายตาราง
2.ลายเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น
– สามสหายแห่งเหมันต์ (สน,เหมย,ไผ่) พืช 3 ชนิดนี้เป็นพืชที่ทนความหนาวได้ดี จึงสื่อถึงความมีอายุที่ยืนยาว
– ดอกโบตั๋น สื่อถึงโชคลาภและความยุติธรรม
– นกสี่เชวี่ยและดอกเหมย สื่อถึงความมุมานะบากบั่นเพื่อความเจริญก้าวหน้า
3.ลายเกี่ยวกับสัตว์ การอยู่รวมกันของสัตว์สื่อถึงความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
– กระรอกและนกกระเรียน สื่อถึงความมีอายุที่ยืนยาว
– ลายจีนและปลา สื่อถึงความรื่นเริง การเฉลิมฉลอง
4.ทิวทัศน์ กี่เพ้าที่ตกแต่งด้วยลายทิวทัศน์นั้นค่อนข้างหายาก เป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
5.อื่นๆ เช่น ลวดลายโบราณ,ลวดลายเกี่ยวกับศาสนา,อักขระ เป็นต้น
ประมาณยุค 1980 ความนิยมใส่ชุดกี่เพ้า ส่งผลให้สถานะของกี่เพ้า ถูกเลื่อนขึ้นเป็นชุดประจำชาติจีน และยังกลายเป็นสัญลักษณ์ของคนจีนด้วย ดังนั้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ผู้คนจึงนิยมใส่ชุดกี่เพ้านั่นเอง…
อ้างอิง :
http://minimore.com/b/NNvSb/2
https://www.blockdit.com/posts/5e2bb788b7b1150c984da353
https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/909386/